มาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายใน

แนวคิดใหม่ของการตรวจสอบภายใน

  1. เป็นหน่วยงานอิสระแต่ต้องคำนึงถึงจุดประสงค์ของการให้บริการด้วย
  2. งานหลักคือ การให้ความมั่นใจ และคำปรึกษา
  3. จัดตั้งขึ้นมาเพื่อสร้างคุณค่าและปรับปรุงการปฏิบัติงานในองค์กร
  4. ช่วยให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์
  5. ปรับปรุงประสิทธิผลในการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกำกับที่ดีขององค์กร

การตรวจสอบภายใน (Internal Auditing)

กิจกรรมการให้ความเชื่อมั่นและให้คำปรึกษาอย่างเที่ยงธรรมและเป็นอิสระซึ่งจัดให้มีขึ้นเพื่อเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการปฏิบัติของส่วนราชการให้ดีขึ้น การตรวจสอบภายในจะช่วยให้ส่วนราชการบรรลุถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกำกับดูแลอย่างเป็นระบบ สร้างคุณค่าเพิ่มให้กับส่วนราชการ

  • คุณค่าของส่วนราชการ คือ งานบริการสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ (ส่วนราชการและประชาชน)
  • การเพิ่มคุณค่า คือ การพัฒนาการให้บริการของส่วนราชการอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและคุ้มค่า

ผู้ตรวจสอบภายใน คือ ผู้ช่วยเหลือสนับสนุนให้มีการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานของส่วนราชการให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุ้มค่ายิ่งขึ้น ด้วยการปฏิบัติงานที่เที่ยงธรรมและเป็นอิสระ

การตรวจสอบภายใน (Internal Auditing)

การสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับองค์กร

การบริการให้ความเชื่อมั่น (Assurance Services)

การตรวจสอบหลักฐานต่างๆอย่างเที่ยงธรรมเพื่อให้ได้มาซึ่งการประเมินผลอย่างอิสระโดยการปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมของส่วนราชการ เช่น

  • การตรวจสอบงบการเงิน
  • ผลการดำเนินงาน
  • การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ
  • ความมั่นคงปลอดภัยของระบบต่างๆ
  • การตรวจสอบความถูกต้องและเชื่อถือได้ของข้อมูลทางการเงินการบัญชี

การบริการให้คำปรึกษา (Consulting Services) การบริการให้คำปรึกษาแนะนำและบริการอื่นที่เกี่ยวข้องโดยลักษณะงานและขอบเขตของงานจะจัดทำข้อตกลงร่วมกับผู้บริการมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับส่วนราชการโดยการปรับปรุงกระบวนการกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมของส่วนราชการให้ดีขึ้น เช่น การให้คำแนะนำปรึกษาในเรื่อง

  • การให้คำแนะนำปรึกษาในเรื่อง
  • การออกแบบระบบงาน วิธีการต่างๆในการปฏิบัติงาน
  • การฝึกอบรม

มาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมการปฏิบัติงานการตรวจสอบภายใน

บทนำ

โครงสร้างมาตรฐานการตรวจสอบภายใน

  • ส่วนที่ 1  มาตรด้านคุณสมบัติ
  • ส่วนที่ 2  มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน
  • ส่วนที่ 3  คำอธิบายศัพท์
  • ส่วนที่ 4  จริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน

โครงสร้างมาตรฐานการตรวจสอบภายใน

มาตรด้านคุณสมบัติ

1000 วัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ

1200 ความเชี่ยวชาญและความระมัดระวังรอบคอบ

1300 การประกันและการปรับปรุงคุณภาพ

มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน

2000 การบริหารงานตรวจสอบภายใน

2100 ลักษณะของงานตรวจสอบภายใน

2200 การวางแผนการปฏิบัติงาน

2300 การปฏิบัติงาน

2400 การรายงานผลการปฏิบัติงาน

2500 การติดตามผล

2600 การยอมรับความเสี่ยงของฝ่ายบริหาร

จริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน

  1. ความซื่อสัตย์
  2. ความเที่ยงธรรม
  3. การปกปิดความลับ
  4. ความสามารถในหน้าที่

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า