ประวัติความเป็นมา

การตรวจสอบภายใน เกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2505 ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังของกระทรวงการคลัง ที่กำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการ และผู้ว่าราชการจังหวัด แต่งตั้งข้าราชการอย่างน้อย 1 คน เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายใน ตามมติคณะรัฐมนตรี ที่ สร.0201/ว.78  ลงวันที่ 19 สิงหาคม  2519  เรื่อง การแต่งตั้งผู้ตรวจสอบภายใน ของส่วนราชการกำหนดให้ส่วนราชการที่เป็น กระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการอื่นที่เทียบเท่า รวมถึงจังหวัดที่มีตำแหน่งอัตรากำลัง เพื่อทำหน้าที่   ผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการและของจังหวัด โดยมีสายการบังคับบัญชา ขึ้นตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการ หรือผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่กรณี

พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลาง ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการ แก่ผู้ตรวจสอบภายใน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 โดยจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ในแต่ละกระทรวง เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลกำหนดขอบเขตงาน และแผนการตรวจสอบ ให้ครอบคลุมงานที่มีความสำคัญ มีความเสี่ยง และมีงบประมาณสูง อีกทั้งมีสัญญาณบอกเหตุว่าอาจจะมีความเสียหายเกิดขึ้น รวมทั้งกำหนดมาตรการ การควบคุมภายใน และระบบตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพ

การจัดตั้งหน่วยตรวจสอบภายในมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบด้านการรับ-จ่ายเงิน  หาข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี และการบริหารงบประมาณ ซึ่งเป็นภาระงานในความรับผิดชอบของกองคลัง และกระทรวงการคลังกำหนดให้มีอำนาจบังคับบัญชา เช่นเดียวกับ ผู้อำนวยการกอง ประกอบกับสภามหาวิทยาลัยฯ ในการประชุมครั้งที่ 11/2549 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2549 ได้ออกประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เรื่องการแบ่งส่วนราชการภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยกำหนดให้มหาวิทยาลัยจัดตั้ง “หน่วยตรวจสอบภายใน” ตามประกาศดังกล่าว

          คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 2/2555 เมื่อวันที่ 5  กรกฎาคม พ.ศ.2555 ได้พิจารณาเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการของสภามหาวิทยาลัย 3 คณะ คือ คณะกรรมการการตรวจสอบภายใน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและคณะกรรมการอุทธรณ์และร้อง ทุกข์ ตามที่สภามหาวิทยาลัยฯ มอบหมาย ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 4/2555 ระเบียบวาระที่ 1/(2) ซึ่งกรณีคณะกรรมการตรวจสอบภายในนั้น มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการแต่งตั้งตามระเบียบแล้วแต่คณะกรรมการมีความเห็นว่างานตรวจสอบภายในเป็นงานสำคัญและมีภาระงานมาก หน่วยงานที่ รับผิดชอบที่มีฐานะเทียบเท่างานคงไม่สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ แต่ควรเป็นหน่วยงานระดับกองหรือเทียบเท่ากอง คณะกรรมการสภาฯ ซึ่งมีมติเห็นชอบให้มหาวิทยาลัยจัดตั้ง “หน่วยตรวจสอบ ภายใน” เป็นส่วนงานภายในมีฐานะเทียบเท่ากอง ตามประกาศมหาวิทยาลัย เรื่องการจัดตั้ง “กองตรวจสอบภายใน” ณ วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2555 เพื่อให้การดำเนินงานภารกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 โดยมีการตรวจสอบภายในที่สนับสนุนการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยให้เกิดคุณภาพและประสิทธิภาพ เป็นหน่วยงาน ระดับกองโดยการบริหารและดำเนินงานกิจการตรวจสอบภายในขึ้นตรงต่ออธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

building

          ต่อมามีประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เรื่อง การแบ่งส่วนงานภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 และให้ยกเลิกประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เรื่องการแบ่งส่วนราชการภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2549 จึงเปลี่ยนชื่อเรียกจาก “กองตรวจสอบภายใน” เป็น “หน่วยตรวจสอบภายใน”เป็นหน่วยงานระดับกองตามประกาศมหาวิทยาลัย เรื่องการจัดตั้ง “กองตรวจสอบภายใน” ณ วันที่ 26  สิงหาคม พ.ศ.2555 เช่นเดิม โดยในช่วงระยะแรกเริ่มการบริหารงานตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยแต่งตั้งบุคคลที่มีความรู้ความสามารถทั่วไปและเป็นผู้อาวุโสในหน่วยงานเป็นผู้บริหารงานตรวจสอบภายใน ตั้งแต่ เริ่มจัดตั้ง ประกอบด้วย

1. นายสาคร รักบำรุง  ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภายใน
ตั้งแต่ กุมภาพันธ์ 2555 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2558

2. นางโสภา ปุ่นสุวรรณ   ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภายใน
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 ถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2560

3. นางสาวพรวิไล อุ้ยดำรงธรรม   รักษาราชแทนผู้อำนวยการกองตรวจสอบภายใน
ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2560 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2561

4. นายสมชาย สหนิบุตร   รักษาราชการแทนหัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน
ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2561 ถึงวันที่ 2 กันยายน 2561

5. ว่าที่ ร.ต.หญิงพิทยา บุญรุ่ง   หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน
ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2561 จนถึงปัจจุบัน

 

****************************************

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า