มาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายใน
แนวคิดใหม่ของการตรวจสอบภายใน
- เป็นหน่วยงานอิสระแต่ต้องคำนึงถึงจุดประสงค์ของการให้บริการด้วย
- งานหลักคือ การให้ความมั่นใจ และคำปรึกษา
- จัดตั้งขึ้นมาเพื่อสร้างคุณค่าและปรับปรุงการปฏิบัติงานในองค์กร
- ช่วยให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์
- ปรับปรุงประสิทธิผลในการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกำกับที่ดีขององค์กร
การตรวจสอบภายใน (Internal Auditing)
กิจกรรมการให้ความเชื่อมั่นและให้คำปรึกษาอย่างเที่ยงธรรมและเป็นอิสระซึ่งจัดให้มีขึ้นเพื่อเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการปฏิบัติของส่วนราชการให้ดีขึ้น การตรวจสอบภายในจะช่วยให้ส่วนราชการบรรลุถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกำกับดูแลอย่างเป็นระบบ สร้างคุณค่าเพิ่มให้กับส่วนราชการ
- คุณค่าของส่วนราชการ คือ งานบริการสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ (ส่วนราชการและประชาชน)
- การเพิ่มคุณค่า คือ การพัฒนาการให้บริการของส่วนราชการอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและคุ้มค่า
ผู้ตรวจสอบภายใน คือ ผู้ช่วยเหลือสนับสนุนให้มีการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานของส่วนราชการให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุ้มค่ายิ่งขึ้น ด้วยการปฏิบัติงานที่เที่ยงธรรมและเป็นอิสระ
การตรวจสอบภายใน (Internal Auditing)
การสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับองค์กร
การบริการให้ความเชื่อมั่น (Assurance Services)
การตรวจสอบหลักฐานต่างๆอย่างเที่ยงธรรมเพื่อให้ได้มาซึ่งการประเมินผลอย่างอิสระโดยการปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมของส่วนราชการ เช่น
- การตรวจสอบงบการเงิน
- ผลการดำเนินงาน
- การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ
- ความมั่นคงปลอดภัยของระบบต่างๆ
- การตรวจสอบความถูกต้องและเชื่อถือได้ของข้อมูลทางการเงินการบัญชี
การบริการให้คำปรึกษา (Consulting Services) การบริการให้คำปรึกษาแนะนำและบริการอื่นที่เกี่ยวข้องโดยลักษณะงานและขอบเขตของงานจะจัดทำข้อตกลงร่วมกับผู้บริการมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับส่วนราชการโดยการปรับปรุงกระบวนการกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมของส่วนราชการให้ดีขึ้น เช่น การให้คำแนะนำปรึกษาในเรื่อง
- การให้คำแนะนำปรึกษาในเรื่อง
- การออกแบบระบบงาน วิธีการต่างๆในการปฏิบัติงาน
- การฝึกอบรม
มาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมการปฏิบัติงานการตรวจสอบภายใน
บทนำ
โครงสร้างมาตรฐานการตรวจสอบภายใน
- ส่วนที่ 1 มาตรด้านคุณสมบัติ
- ส่วนที่ 2 มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน
- ส่วนที่ 3 คำอธิบายศัพท์
- ส่วนที่ 4 จริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน
โครงสร้างมาตรฐานการตรวจสอบภายใน
มาตรด้านคุณสมบัติ
1000 วัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ
1200 ความเชี่ยวชาญและความระมัดระวังรอบคอบ
1300 การประกันและการปรับปรุงคุณภาพ
มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน
2000 การบริหารงานตรวจสอบภายใน
2100 ลักษณะของงานตรวจสอบภายใน
2200 การวางแผนการปฏิบัติงาน
2300 การปฏิบัติงาน
2400 การรายงานผลการปฏิบัติงาน
2500 การติดตามผล
2600 การยอมรับความเสี่ยงของฝ่ายบริหาร
จริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน
- ความซื่อสัตย์
- ความเที่ยงธรรม
- การปกปิดความลับ
- ความสามารถในหน้าที่