การตรวจสอบภายในสำหรับภาครัฐ
การตรวจสอบภายในสำหรับภาครัฐ
- ประเทศไทยเริ่มมีตำแหน่งผู้ตรวจสอบในเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2519 ตามมติตามคณะรัฐมนตรีและมีกระทรวงการคลังทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุน ด้านวิชาการ
- บทบาทหน้าที่งานตรวจสอบภายใน
- เพื่อช่วยปฏิบัติงานในองค์กรให้ทำงานในหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- เพื่อส่งเสริมให้มีการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
- ระเบียบกระทรงการคลังว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ พ.ศ. 2542 ใช้กับทุกระทรวง ทบวง กรม สำนักงานหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค หรือ ต่างประเทศ ยกเว้นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารงานส่วนท้องถิ่น (ปัจจุบันใช้ระเบียบกระทรวงการคลังฯ 2551)
- กระทรวงการคลังทำหน้าที่ควบคุมดูแลองค์กรและระบบงานตรวจสอบภายในโดยมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาการตามระเบียบ
หน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานตรวจสอบภายใน
- กำหนดเป้าหมาย ทิศทาง ภารกิจของงานตรวจสอบภายใน (หัวหน้าฯ กำหนด)
- กำหนดกฎบัตร
- จัดให้มีการประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายใน
- ในกรณีที่หัวหน้าส่วนราชการเห็นชอบว่าให้ว่าจ้างผุ้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาช่วยปฏิบัติงานตรวจสอบให้หน่วยตรวจสอบงานภายในตำแหน่งร่าง TOR ของงาน
- ให้ปฏิบัติงานตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานและคู่มือแนวปฏิบัติการตรวจสอบของกรมบัญชีกลาง
สายการบังคับบัญชาและหน่วยงานที่รับผิดชอบ
- ผู้ตรวจสอบภายในกระทรวงขึ้นตรงต่อปลัดกระทรวงตรวจสอบส่วนราชการในสังกัดกระทรวง
- ผู้ตรวจสอบภายในกรมขึ้นตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการตรวจสอบราชการบริหารส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนต่างประเทศ
- ผู้ตรวจสอบภายในจังหวัดขึ้นตรงต่อผู้ว่าราชการจังหวัดตรวจสอบราชการบริหารส่วนภูมิภาค
การตรวจสอบ
- ผู้ตรวจสอบภายในของราชการระดับกระทรวงตรวจสอบส่วนราชการระดับกรม
* ต้องเป็นการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน งานโครงการที่มีความสำคัญต่อผลสำเร็จนโยบายกระทรวง
* เป็นโครงการที่ได้รับนโยบายให้ติดตามกำกับดูแลเป็นกรณีพิเศษด้วยให้ประสานแผนการตรวจสอบกับส่วนราชการ - ผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการระดับกรมตรวจสอบราชการบริหารส่วนกลาง
* ในกรณีที่มีความจำเป็นหรือสมควรอาจมอบหมายให้ตรวจสอบส่วนราชการ ในสังกัดราชการบริหาร ส่วนภูมิภาคได้ - ผู้ตรวจสอบภายในของจังหวัดตรวจสอบราชการบริหารส่วนภูมิภาค
*ตรวจสอบส่วนราชการในส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคเฉพาะในส่วนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินงานแทน
การเสนอแผนการตรวจสอบ
แผนการตรวจสอบประจำปีเสนอหัวหน้าส่วนราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อพิจารณาอนุมัติในเดือนกันยายน
* ในกรณีที่หน่วยงานวางแผนการตรวจสอบมีระเวลาตั้งแต่ 1ปี ขึ้นไปให้เสนอแผนการตรวจสอบระยะยาวเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติแผนการตรวจสอบประจำปีด้วย
*กรณีระดับกระทรวงตรวจสอบระดับกรมให้สำเนาแผนการตรวจสอบให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมทราบด้วย
*กรณีระดับกรมตรวจสอบส่วนราชการส่วนภูมิภาค ให้สำเนาแผนการตรวจสอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ทราบด้วย
การเสนอรายงานผลการตรวจสอบ
รายงานผลการตรวจสอบเสนอหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ว่าราชการจังหวัดภายในเวลาอันสมควรอย่างน้อยทุก 2 เดือน
*กรณีผู้ตรวจสอบภายในของจังหวัดตรวจสอบราชการบริหารส่วนภูมิภาคให้ส่งสำเนารายงานผลการตรวจสอบให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัดของหน่วยรับตรวจทราบด้วย
*กรณีผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการระดับกรมตรวจสอบส่วนราชการในส่วนภูมิภาคให้ส่งสำเนารายงานผลการตรวจสอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบด้วย